The Land I Attached

An Exhibition by Wah Nu

The Land I Attached

An Exhibition by Wah Nu

EXHIBITION

On view from 05th April 2025 - 17th June 2025

at MoM Museum & Kalm Gallery

-

Exhibition opening event 5th April 2025

Free and open to public

The Land I Attached is the second exhibition in Wah Nu’s trilogy, following The Place I Belong, which was showcased in Yangon in 2023. While the first exhibition reflected the evolution of her work—where it began, how it has transformed, and where it is headed—this second chapter delves into her deep connection to her homeland and pays tribute to its native people.

Created between 2020 and early 2025, the works in this exhibition blend natural and manmade landscapes—mountains, highlands, oceans, and towering stupas shrouded in clouds—each carrying its own story.

In 2019, Wah Nu revisited in painting after being apart from it for a long time. “I thought about my life over a year ago when I had a hard time. Confusing works of exhibitions and artworks in addition to family responsibilities stressed me out … Most of our works … included complicated steps, discussions and collaborating with several people. Now I am longing for a short break from those situations. I am tired of household chores. All I want is to spend time alone to do things I want by taking time. I thought of writing poems and essays like I used to. Then I also thought about painting again.”


Indeed, painting is a way of relaxation for her. At first, it was mainly about the beauty of the colors, experiences and emotions. When she started painting in 2002, the painting sizes were as small as 23 x 28 cm. The content of the paintings were simple and ‘cartoon-like clouds’ according to her father. The colors undecorated —the sea of Canary Yellow, Torque Green or Rossy Pink— exist as raw extensions of her imagination, soft and muted. She mentioned, “They are the reflection of my childhood experiences from the trip around the nation with my father.” Po Po, a veteran Myanmar contemporary artist, added, “her paintings were very simple but rich in colors, joyous but sentimental, flat but many dimensions” and continued, “some of her cloud paintings are seen in the psychological stage; fear and solitude.” Moreover, the metrical rhythms from the music she studied at university dance and flow in her cloud paintings.

-

นิทรรศการ ดินแดนอาลัย (The Land I Attached) เป็นนิทรรศการครั้งที่สองในไตรภาคนิทรรศการของ Wah Nu ต่อจาก นิทรรศการ The Place I Belong ซึ่งจัดแสดงในเมืองย่างกุ้ง เมื่อปี พ.ศ. 2566 ในขณะที่นิทรรศการครั้งแรกหรือบทที่หนึ่ง ได้สะท้อนถึงวิวัฒนาการทางด้านผลงานของเธอ - ผ่านจุดเริ่มต้น การเปลี่ยนผ่าน และทิศทางที่จะก้าวเดินต่อไปในอนาคต - บทที่สองนี้ จะพาผู้ชมเจาะลึกเพื่อเข้าไปสำรวจความผูกพันอันลึกซึ้งของเธอที่มีต่อบ้านเกิด และยังเป็นการแสดงความเคารพต่อกลุ่มคนพื้นเมืองในท้องที่ที่เธอจากมา

ผลงานในนิทรรศการนี้ถูกสร้างสรรค์ขึ้น ระหว่างปี พ.ศ. 2563 ถึงต้นปี พ.ศ. 2568 โดยหลอมรวมภูมิทัศน์ของธรรมชาติและภูมิทัศน์ที่มนุษย์สร้างขึ้น - ภูเขา ที่ราบสูง มหาสมุทร และเจดีย์สูงตระหง่านที่ปกคลุมด้วยมวลหมู่เมฆ - ซึ่งแต่ละแห่งล้วนมีเรื่องราวเป็นของตนเอง

เมื่อเธอหวนกลับมาเขียนภาพอีกครั้งในปี พ.ศ. 2562 แนวทางภาพเขียนของเธอดูเหมือนจะย้อนกลับไปสู่รูปแบบดั้งเดิม แต่เธอกลับค้นพบว่ามันมีความเชื่อมโยงที่ลึกซึ้งกับแนวคิดมากขึ้น ในปีเดียวกัน เธอเริ่มมองว่าผลงานของเธอนั้นคล้ายกับ ‘บทสวดมนต์’ ที่แม้ว่าจะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดๆกับพุทธศาสนาก็ตาม การฝึกฝนนี้เป็นการเตือนความจำถึงผลงานวิดีโอเก่าๆของเธอ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 - 2547 “ฉันแค่อยากให้ผู้คนได้ดูวิดีโอของฉันไปเรื่อยๆ อย่างเนิบช้าและไม่เร่งรีบ ฉันแค่อยากให้เขาหรือเธอได้มีบางสิ่งบางอย่างให้เพลิดเพลิน... ราวกับการนั่งเก้าอี้อาร์มแชร์ในตอนเย็นของฤดูใบไม้ผลิและจ้องมองใบไม้ร่วงโรย เห็นแสงแดดจากร่มเงาในตอนบ่ายของฤดูหนาว หรือนั่งลงบนหาดทรายในฤดูกาลแห่งการท่องเที่ยวเพื่อเพียงแค่มองออกไปในทะเล” เธอกล่าว เธอมองว่านิทรรศการเป็นผลผลิตของความเป็นมหานคร เธอเคยถ่ายทอดว่า “ฉันต้องการให้ผู้เยี่ยมชมในห้องนิทรรศการของฉันมีบางสิ่งบางอย่างให้ได้คาดหวัง เพื่อรู้สึกถึงความสงบ และเพื่อคงอยู่กับปัจจุบัน - แม้ว่าจะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆก็ตาม” บางครั้งเธอแค่ ‘ต้องการสร้างสรรค์ผลงานที่ไม่จำเป็นต้องคิด หรือตีความเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจ’ อย่างไรก็ตาม ผลงานที่ไม่ต้องการการใช้ความคิดมากจนเกินไป ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นผลงานที่ปราศจากความคิด การสร้างผลงานโดยปราศจากเจตนาเป็นการกระทำที่มีเจตนาในตัวมันเอง การสร้างผลงานเพื่อการรับชมอย่างแท้จริงนั้น ต้องอาศัยความพยายามอย่างทุ่มเทจากทั้งศิลปินที่รังสรรค์มันอย่างพิถีพิถัน และผู้ชมที่ตั้งใจมีส่วนร่วมกับมัน

แน่นอนว่าการเขียนภาพเป็นวิธีการผ่อนคลายสำหรับเธอ ในตอนแรกมันเป็นเรื่องเกี่ยวกับความงามของสีสันต่างๆ และประสบการณ์ทางอารมณ์เป็นหลัก เมื่อเธอเริ่มเขียนภาพในปี พ.ศ. 2545 ขนาดภาพเขียนมีขนาดเล็กเพียง 23 x 28 ซม. เนื้อหาของภาพเขียนนั้นเรียบง่ายและเป็นภาพของ ‘ก้อนเมฆที่คล้ายกับการ์ตูน’ ตามคำกล่าวของพ่อเธอ สีสันที่ไม่ได้ถูกปรุงแต่ง - ทะเลจากสีเหลืองคานารี หรือสีเขียวเทอร์คอยซ์ หรือสีชมพูรอสซี - ซึ่งดำรงอยู่ในผลงานของเธอนั้น ได้เปิดเผยจินตนาการหยาบๆ หากแต่มีความนุ่มนวลและเงียบงัน เธอกล่าวว่า “มันคือภาพสะท้อนของประสบการณ์ในวัยเด็กของฉัน จากการเดินทางทั่วประเทศกับพ่อของฉัน” Po Po ศิลปินร่วมสมัยผู้มีชื่อเสียงชาวพม่า ได้กล่าวเสริมว่า “ภาพเขียนของเธอนั้น เรียบง่ายแต่รุ่มรวยไปด้วยสีสัน ดูร่าเริงแต่กลับรู้สึกอ่อนไหว แบนราบแต่มีหลายมิติ” และกล่าวต่อว่า “ภาพเขียนเมฆบางภาพของเธอ สะท้อนถึงอารมณ์ทางจิตวิทยา เช่น ความกลัวและความโดดเดี่ยว” นอกจากนี้ จังหวะดนตรีที่เธอเคยร่ำเรียนมาจากในรั้วมหาวิทยาลัย ยังช่วยให้ภาพมวลหมู่เมฆของเธอนั้น สามารถเต้นรำและเคลื่อนไหวได้อีกด้วย

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2562 และต้นปี พ.ศ. 2563 พลวัตทางสังคมของโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ความไม่สงบทางเศรษฐกิจ และการปะทุของความรุนแรงและสงคราม ได้สั่นคลอนความมั่นคงของผู้คน ส่งผลให้รูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ ซึ่งมาพร้อมกับพายุแห่งโรคระบาดครั้งใหญ่ สิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ตั้งคำถามถึงการดำรงอยู่ของศิลปินอีกด้วย Wah Nu เริ่มเขียนภาพ ‘Cloud and Stars’ ในปี พ.ศ. 2563 และ ‘Clouds over Mountain’ ในปี พ.ศ. 2565 ทิศทางของชุดผลงานเหล่านี้เชื่อมโยงกับความหมายและนัยมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ภาพเขียน ‘Cloud and Stars’ เป็นการพยายามที่จะกอบกู้ต้นกำเนิดทางชีววิทยาที่สูญหายไปและอนุภาคเล็กๆจากรากเหง้า ที่มีอยู่ภายในตัวตนของเธอ.

About the artist

Wah Nu, born in 1977 in Yangon, Myanmar, studied music at the University of Culture, Yangon, earning her BA in 1998.

She began her artistic career writing essays before turning to painting in 2001, exploring personal emotions through pop-inspired motifs. In 2003, she expanded into video art, creating dreamlike works that evoke psychological states. Alongside solo exhibitions, she collaborates with her husband, Tun Win Aung, on large-scale projects like Blurring the Boundaries (2007) and 1000 Pieces (of White) (2009).

Her works are held in major collections, including the Centre Pompidou, Fukuoka Asian Art Museum, and the Solomon R. Guggenheim Museum.