Indonesia / อินโดนีเซีย
Textiles from Indonesia | สิ่งทอจากอินโดนีเซีย
The Indonesian archipelago is striving with a diversity of tribes,culture and languages. With over 17,000 islands and 1,300 recognised ethnic groups, this translates to over 50 kinds of tradition of textile making, with distinct styles, motif of techniques. Textiles are produced by virtually all the diverse ethnic groups who inhabit the Indonesian archipelago from Sumatra and Bali in the west, across the islands of Borneo and Sulawesi, to the spice-rich islands of the east.
From earliest infancy to the wrapping of funerary shrouds, life in many Indonesian societies is both literally and figuratively interwoven with textiles. Traditional Indonesian textiles are seen as a medium for strengthening family bonds, community identity, cultural exchanges and token of appreciation.
Popular traditional textiles widely used in Indonesia are Batik,Songket, and Ikat.
BATIK - Indonesian batik was added to UNESCO’s Intangible Cultural Heritage of Humanity list in 2009, and has been internationally reconnected as an historical fabric of human civilization . It is thought to be over 1,000 years old. “Batik is derived from an Indonesian-Malay word, which is now often used as a generic term referring to the process of dyeing fabric. The process is traditionally performed on cotton and silk using a resist technique. This includes covering an area of cloth with a dye-resistant substance in order to prevent color absorption. Those areas covered are able to absorb deep hues. Thus, the fabric is both durable and fade-resistant. Other batik methods also exist, such as the splash method, the screen printing process, and the hand-painting methods.
Batik is considered to have reached the height of its artistic expression in Java during the 19th century. Recognizable motifs, patterns, and colors often designated family, social status, and geographic origin.
Traditional colors for Central Javanese batik were made from natural ingredients, and consisted primarily of blue, brown, beige, and black. Some designs include Kawung, or intersections circles, Ceplok, geometric designs, Palang, or “knife pattern”, and Prada cloth, a batik decorated with gold dust. These prints were inspired by Japanese, Indian, Chinese, and Dutch influence, which resulted in the richness of the color and motifs.
Songket - Songket is a Sumatran tradition, shared by many countries in the Malay Peninsula. Songket is hand-woven in silk or cotton, and intricately patterned with gold or silver threads. This tradition is said to have begun in Srivijaya Empire (650-1377 AD). The term Songket comes from the Malay word sungkit, which means “to hook”. The method of songket making is to hook and pick a group of the threads, and then slip the gold and silver threads under it.
Songket is a luxury product traditionally worn during ceremonial occasions as sarong, shoulder cloths or head ties. It is a luxurious textile that requires some amount of real golden leafs to be made into gold threads and hand-woven into fabrics. Songket is produced in Sumatra, Kalimantan, Bali, Sulawesi, Lombok and Sumbawa, with over 100 distinct patterns.
IKAT - the term ikat is derived from the Malay word mengikat, meaning “to tie”- a reference to the distinctive technique use to create them, a complex process that involve tying strip of fiber around the unwoven threads of a textile before dying them so as to create rich and intricate patterns in the resulting fabric.
Although united by a common technique, ikat textiles are astonishingly diverse in their imagery, which ranges from bold geometric compositions to figural patterns of striking visual and technical virtuosity. The sources of artistic inspiration are equally varied. Some reflect artistic influences from India, the Southeast Asian mainland, or the Islamic world. Others draw on purely indigenous aesthetics.
Ikat textiles of Indonesia appear in diverse forms, from lavishly adorned garments, such as skirts or shoulders cloths, to monumental ceremonial textiles used to mark sacred spaces, enshroud the dead, or serve as potent symbols of their owners’ wealth and power.
หมู่เกาะอินโดนีเซียเฟื่องฟูไปด้วยความหลากหลายของชนเผ่า วัฒนธรรม และภาษา ด้วยเกาะมากกว่า 17,000 เกาะ และกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นที่รู้จัก 1,300 กลุ่ม สิ่งนี้ถ่ายทอดเป็นประเพณี การผลิตสิ่งทอกว่า 50 ชนิด ด้วยรูปแบบ ลวดลาย หรือเทคนิคที่แตกต่างกัน มีการผลิต โดยแทบทุกกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่เกาะอินโดนีเซีย ตั้งแต่กลุ่มสุมาตราและบาหลีทางตะวันตก เกาะบอร์เนียวและสุลาเวสี ไปจนถึงเกาะที่อุดมด้วยเครื่องเทศทางทิศตะวันออก
ตั้งแต่เกิดในวัยทารก จนถึงการหุ้มห่อศพ ชีวิตในสังคมอินโดนีเซียเกี่ยวข้องกับสิ่งทออย่างแยกไม่ได้ สิ่งทอของอินโดนีเซียแบบดั้งเดิมถูกมองว่าเป็นสื่อกลางในการเสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว เอกลักษณ์ของชุมชน การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และ สัญลักษณ์แห่งความกตัญญู สิ่งทอพื้นบ้านที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอินโดนีเซียได้แก่ บาติก ซองเกต และมัดหมี่
บาติก (Batik) - ผ้าบาติกนั้น สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 1,000 ปี ผ้าบาติกอินโดนีเซียถูกเพิ่มเข้าไปในรายการมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติของยูเนสโก ในปี 2552 และได้รับการยอมรับในระดับสากลว่าเป็นการสร้างสรรค์ทางประวัติศาสตร์ของอารยธรรมมนุษย์ “ผ้าบาติก” มาจากคำภาษาอินโดนีเซีย - มาเลย์ ซึ่งปัจจุบันมักใช้เป็นคำทั่วไปที่หมายถึงกระบวนการย้อมผ้า กระบวนการนี้ ตามประเพณีจะทำลงบนผ้าฝ้ายและผ้าไหม โดยใช้เทคนิกการต้านทาน ซึ่งเป็นการคลุมบริเวณผ้าเป็นลวดลายด้วยสารกันย้อม เพื่อป้องกันการดูดซึมสี ส่วนพื้นที่ที่ไม่ครอบคลุม สามารถดูดซับเฉดสีได้ลึก ดังนั้นเนื้อผ้าจึงมีความทนทาน และทนต่อการซีดจาง นอกจากนี้ยังมีวิธีผ้าบาติกอื่นๆ เช่นวิธีการสาดสี การพิมพ์ และวิธีการลงสีด้วยมือ
ผ้าบาติก ถึงจุดสูงสุดของการแสดงออกทางศิลปะในชวา ในช่วงศตวรรษที่ 19 ลวดลายและสีที่ใช้ มักถูกกำหนดทางครอบครัว สถานะทางสังคม และแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์สีดั้งเดิมสำหรับผ้าบาติกชวากลาง ทำจากส่วนผสมจากธรรมชาติ และส่วนใหญ่ประกอบด้วยสีน้ำเงิน น้ำตาล เบจ และดำ ลวดลายบางอย่าง ได้แก่ กอวังหรือลายวงกลมที่ตัดกัน เซปล๊อก ลวดลายเรขาคณิต ปารัง หรือ “ลายมีด” ผ้าปราด้า ผ้าบาติกที่ประดับด้วยทองคำเปลวหรือฝั่นทอง ภาพพิมพ์เหล่านี้ได้รับแรงบันดาลใจจากอิทธิพลของญี่ปุ่น อิเดีย จีน และดัตช์ ซึ่งส่งผลให้มีสีสันและลวดลายที่หลากหลาย
ซองเก็ท (Songket) - ซองเก็ทนั้น เป็นประเพณีสิ่งทอของสุมาตรา กล่าวกันว่า เริ่มขึ้นในอาณาจักรศรีวิชัย (ค.ศ. 650-1377) ซึ่งมีส่วนร่วมในหลายประเทศในคาบสมุทรมาเลย์ เป็นงานทอมือด้วยผ้าไหมหรือผ้าฝ้าย และสร้างลวดลายที่วิจิตรด้วยด้ายสีทองหรือสีเงิน คำว่า Songket มาจากคำว่า Sungkit ในภาษามาเลย์ ซึ่งแปลว่า “การขอ” ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับวิธีการทอ คือการเกี่ยวและหยิบด้ายกลุ่มหนึ่ง แล้วสอดด้ายสีทองและสีเงินไว้ข้างใต้
ซองเก็ท เป็นสินค้าหรูหรา ซึ่งตามประเพณีนั้นไว้สรวมใส่ในโอกาสพระราชพิธี เช่น โสร่ง ผ้าคลุมใหล่ หรือผ้าโพกศรีษะเป็นสิ่งทอในอดีตต้องใช้แผ่นทองคำแท้จำนวนหนึ่งเพื่อทำเป็นด้ายสีทองและทอด้วยมือเป็นผ้า ซองเก็ทผลิตในสุมาตรา กาลิมันตัน บาหลี สุลาเวสี ลอมบอก และชุบบาาวา ด้วยลวดลายที่แตกต่างกันมากกว่า 100 แบบ
มัดหมี่ (Ikat) - คำว่า Ikat มาจากคำภาษามาเลย์ Mengikat ซึ่งหมายถึง “การผูก” ซึ่งกล่าวถึงเทคนิคเฉพาะที่ใช้ในการสร้างลวดลาย ซึ่งเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน โดยการผูกแถบเส้นใยรอบๆเส้นด้ายที่ยังไม่ได้ทอก่อนที่จะทำการย้อม เทคนิคนี้สามารถสร้างลวดลายที่ละเอียดและซับซ้อนในผ้าที่ได้
สิ่งทอ Ikat มีความหลากหลายอย่างน่าอัศจรรย์ในจินตภาพ ซึ่งมีตั้งแต่องค์ประกอบทางเรขาคณิตที่เด่นชัด ไปจนถึงรูปแบบที่เป็นรูปภาพบอกเล่าเรื่องราวแหล่งที่มาของแรงบันดาลใจนั้นหลากหลายซึ่งบางส่วนสะท้อนอิทธิพลทางศิลปะจากอินเดีย แผ่นดินใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือโลกอิสลาม หรือใช้ความงามแบบพื้นเมือง