Burma / พม่า
Luntaya Acheik | ลุนตยาอะฉิก
Luntaya (လွန်းတစ်ရာ) which literally means a "hundred shuttles," refers to the time-consuming, expensive, and complex process of weaving this pattern, which requires using 50 to 200 individual shuttles, each wound with a different color of silk. The weaving is labor-intensive, requiring at least two weavers to manipulate the shuttles to achieve the interwoven wave-like patterns.
Luntaya Acheik is the prized cloth used for skirt cloth, or sarong, in Burma. Luntayas originated as court dress but later came to signify social status outside the court as well.
ผ้าลุนตยาเป็นชื่อเรียกย่อของคำว่า “ลุนตยาอะฉิก” แปลว่า ร้อยกระสวย เนื่องจากเป็นผ้าทอเทคนิคพิเศษที่ต้องใช้กระสวยบรรจุเส้นไหมสีต่างๆ นับร้อยกระสวย ส่วน “อะฉิก” แปลว่า ลายคลื่น เรียกตามลวดลายลูกคลื่นที่ปรากฎบนผ้าทอ ลายลูกคลื่นนี้ทำซ้อนขดตัวกันถึงเจ็ดชั้นไล่โทนสีกันไป หมายถึงเขาสัตตบริภัณฑ์ทั้งเจ็ดที่ตั้งรายล้อมเขาพระสุเมรุอันเป็นแกนกลางของโลก
ลุนตยาอะฉิกเป็นผ้าซิ่นของชาวพม่าที่ใช้กันแพร่หลายในราชสำนักอังวะมัณฑะเลย์ อมรปุระ ย่างกุ้ง และ เมืองตองคยีแถบรัฐฉานถือเป็นผ้านุ่งและผ้าโจงของกษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์อลองพญาที่ใช้สืบต่อกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี